20 เมษายน 2555 @ ไปร่วมงานสวดอภิธรรมของอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม จนตกผลึกงานด้านช่วยเหลือสังคมองค์กรใหม่ที่ชื่อ C-CES ครับ

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับบทความนี้มีความพิเศษตรงที่ ผมอยากเล่าความรู้สึกที่ได้ไปร่วมงานสวดอภิธรรมของอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ในมุมมองที่จะนำไปปรับประยุกต์กับองค์กรช่วยเหลือสังคมที่ชื่อ C-CES ครับ เพราะในระหว่างที่ร่วมงานที่วัดธาตุทอง แล้วผมไปก่อนเวลานั้น ได้ทำสมาธิเป็นช่วงๆ 4 ครั้งเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับอาจารย์ไพบูลย์ ก็ได้ค่อยๆ พิจารณาการจัดงานของอาจารย์ไปด้วย คิดไปด้วย ไตร่ตรองไปด้วย ทำให้เกิดการทบทวนลักษณะงานที่เกี่ยวข้องไปด้วย

สามารถอ่านบทความ 2 บาทความที่ผมพิมพ์เกี่ยวข้องกับท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้ตามลิงก์นี้ครับ http://mailboxpreeda.blogspot.com/2009/02/3.html และ http://preedanoikendezu.blogspot.com/2008/09/115.html

ถ้าอย่างนั้นผมขอเริ่มวงนอกจากตัวเป็นภาพกว้างก่อนวกกลับมาที่ภายในจิตใจก่อนดังนี้นะครับ ตอนที่ได้ที่จอดรถใกล้กับศาลา 5 ที่สวดอภิธรรมของอาจารย์ไพบูลย์ ราวกับปาฏิหารย์เล็กๆ นั้น เมื่อเข้ามาในงานได้แอบนึกไปถึง ผู้วายชนม์ 2 ท่านที่ได้ถูกบรรจุอยู่ที่หัวเสา 2 ข้างที่รถปุยฝ้าย (SUZUKI APV สีดำ) ว่าอาจจะมีส่วนร่วมในการช่วยหาที่จอดรถแบบปาฏิหารย์ให้นะครับ จึงให้น้องอาสา ช่วยถ่ายภาพให้นะครับ ตามภาพข้างล่าง ทั้ง 2 ท่านมีชื่อว่า คุณปรีชา คงธนะ และคุณดุษฎี จินดารัตน์ เพราะตั้งใจไว้ว่า จะกลับไปสวดมนต์ ทำสมาธิแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ทั้งสองท่านด้วยครับ

เมื่อเข้ามาถึงบริเวณงานในศาลา 5 ผมไม่ได้เข้าไปนั่งในห้องแอร์ท้งๆ ที่อยากเข้าไปมากนะครับเพราะว่าอากาศข้างนอกยังอบอ้าวอยู่ แต่ผมทราบดีว่ายังจะต้องมีผู้ใหญ่ที่สำคัญๆ มาอีกมากมายแน่นอน ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เป็นบุคคลระดับประเทศทั้งนั้น แม้คณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ของพระจอมเกล้าธนบุรี ท่านยังนั่งข้างนอกเลยครับ และผมก็ไม่ร้อนมากเนื่องจากได้พัดลมตัวใหญ่ที่เป่าที่หน้าด้านข้างเลยครับ คือว่า ผมไปก่อนเวลาประมาณ 17.30 น. ทำให้สามารถเลือกที่นั่งได้อย่างลงตัวครับ

ระหว่างที่ทำสมาธิอุทิศส่วนกุศลให้กับอาจารย์ไพบูลย์นั้น ทำให้ปิ๊งไอเดียในเรื่องขั้นตอนการทำสมาธิช่วงสั้นๆ ของทางพุทธ หรือถ้าในระดับสากลทุกศาสนา คือ การสงบนิ่ง เพื่อระลึกถึงและไว้อาลัยต่อผู้วายชนม์ อีกไอเดียที่เราบรรจุอยู่ในขั้นตอนพิธีการ หลังการกล่าวถึงวาระสำคัญในงานไปแล้วนั้น ควรมี ผู้กล่าวไว้อาลัยต่อผู้วายชนม์จำนวน 4 ท่านต่อวัน เช่น เพื่อนสนิท ผู้ทำงานร่วมกัน ผู้เคารพนับถือ-ศรัทธาผู้วายชนม์ หรือเจ้าภาพร่วมในแต่ละวัน

สำหรับการเปิดวีดีทัศน์นั้นเนื่องจากมีรายการทีวีมากมายที่สัมภาษณ์อาจารย์ไพบูลย์ไว้มาก จึงถือว่าลงตัว ผู้ร่วมงานก็ได้รับฟังข้อคิด คติเตือนใจ ในการครองตนของอาจารย์ได้อย่างมีสาระ ดังนั้นแล้วในเวลาสั้นๆ ที่ผู้มาร่วมงานของผู้วายชนม์นั้น ควรมีการทำวีดีทัศน์ เพื่อย่อเรื่อง หรือกล่าวถึง ประวัติโดยย่อ หรือคุณาปการที่ผู้วายชนม์ได้ให้ไว้ต่อครอบครัว และสังคม เพื่อผู้ร่วมงานได้ทราบและจดจำระลึกถึง

ยังปิ๊งไอเดียถึงกลุ่มอาสาสมัครที่มีความสามารถในการถ่ายภาพอีก เนื่องจากการถ่ายภาพนั้นมีความสำคัญยิ่งที่จะเป็นเครื่องมือในการบันทึกความทรงจำสุดท้ายก่อนที่ผู้วายชนม์จะจากไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบันทึกภาพของพวงหรีดต่างๆ ที่ได้รับจากผู้ระลึกถึง ซึ่งในกรณีของอาจารย์ไพบูลย์นั้นมีจำนวนมากมหาศาล ถึงกับต้องนำป้ายพวงหรีดไปติดข้างกำแพงจนแน่นไปหมดครับ และภายในห้องฯ ยังมีพวงหรีดาพระราชทานจากพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อีกด้วยครับ ในมุมมองของผมนั้นต้องให้ความสำคัญกับผู้ระลึกถึงเป็นอย่างมาก เพื่อบันทึกไว้ให้กับญาติของผู้วายชนม์ได้ทราบครับ เนื่องจากในช่วงเวลางานคงจะวุ่นวาย จำใครไม่ได้ เยอะแยะเต็มไปหมด จึงสามารถทำให้ญาติผู้วายชนม์สามารถกลับมาดูย้อนหลังได้ครับ



ผมได้ที่จอดรถระหว่างเสาของผู้มรณะทั้ง 2 ท่านครับตามภาพข้างบน


ป้ายบอกรายนามผู้วายชนม์ที่ประจำศาลาต่างๆ ครับ



ป้ายกำหนดการหน้าทางเข้าศาลา 5 ครับ



ตัวอย่างป้ายพวงหรีดที่ติดตามกำแพงครับ




ผมมาก่อนเวลา ที่นั่งยังว่างอยู่


ไม่นานที่นั่งก็แน่นเต็มไปหมดครับ


จะเห็นด้านข้างซ้ายของผมที่มีป้ายชื่อพวงหรีดติดเต็มกำแพงครับ


บุคคลสำคัญระดับประเทศที่มาร่วมงานครับ



อาหารว่างที่ทางผู้จัดงานมอบให้สำหรับผู้มาร่วมงานครับ
ดสามารถดูภาพบรรยากาศในงานเพิ่มเติมทั้งหมดได้ที่ลิงก์นี้ครับ

จากนั้นผมได้นำไอเดียต่างๆ กลับมาคุยปรึกษาหารือกับคุณเทอรี่ เพื่อตกผลึกการดำเนินการของ C-CES ในรูปแบบของกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ได้ลงตัวมากขึ้น มีเอกลักษณ์ในแบบเฉพาะของ C-CES ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตามได้ที่ลิงก์ของเว็บไซต์ http://www.c-ces.com/ นะครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น